เมื่อพูดถึง 'Dark Fashion' หลายๆคนคงพอเดาทิศทางของกระแสเสื้อผ้าที่เดินมาในสายนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในส่วนของการใช้สีสัน รูปทรง และงานเทคนิคซึ่งทำให้คอลเล็กชั่นนั้นๆดูดาร์ค ดิบ เขลอะ หรืออะไรก็ตามแต่ที่อยู่ในมู้ด โทน แล้วให้ความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกัน โดย Inspiration นั้นก็ล้วนมาจากเรื่องราวรอบๆตัว ความเชื่อ ภาพยนต์ ดนตรี ศิลปะยุคต่างๆ หรืออาจเกิดจากจินตนาการ โดยสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นจากอารมณ์ช่วงเวลานั้นเป็นหลัก แล้วเมื่อพูดถึงดาร์คแฟชั่น หลายๆคนคงโฟกัสไปที่สีดำ เทา และสีหม่น แต่นั่นคงไม่จำเป็นเสมอไป เพราะนักออกแบบระดับโลกหลายคนสามารถสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นที่ดาร์คได้ โดยการใช้สีสด สีสันจัดจ้าน แต่เน้นในส่วนของรายละเอียดที่ทำให้ผลงานนั้นให้อารมณ์ในแบบ Dark Fashion อย่างเช่น John Galliano มักนำรูปแบบของงานศิลปะ และเรื่องราวในยุค Gothic มาเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งคอลเล็กชั่นที่สร้างสรรค์ให้ Dior Haute Couture Spring 2006 ที่มีสีแดงและสีขาวเป็นหลัก แต่รายละเอียดงานปักบนชิ้นงาน โครงเสื้อ สไตล์ลิ่งก็ทำให้คอลเล็กชั่นดูดาร์คและดิบเข้าขั้น จนคอลเล็กชั่นนี้กลายเป็นหนึ่งในคอลเล็กชั่นเด่นที่ถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ Gothic : Dark Glamour คู่กับคอลเล็กชั่นของดีไซเนอร์คนอื่นๆ เช่น Alexander McQueen ที่มักนำเสนอแฟชั่นแนวนี้เช่นกัน
ผลงานชิ้นเด่น Alexander McQueen และ John Galliano for Dior
แฟชั่นในรูปแบบของดาร์กแฟชั่นนั้น ผู้เสพที่ชื่นชอบสามารถสัมผัสได้ด้วยมู้ดของคอลเล็กชั่น และสิ่งต่างๆที่สื่อผ่านชิ้นงานในแต่ละชิ้น โดยอาจไม่จำเป็นต้องมีงานปักประดับประดา หรือใช้วัสดุสุดหรูหรามีราคาแพงในการบอกเล่าเรื่องราวเช่นรูปแบบแฟชั่นในแนวทางอื่นๆ นั้นจึงเป็นทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้นักออกแบบหน้าใหม่ได้ลุกขึ้นมาสรรค์สร้างคอลเล็กชั่นตามที่ตัวเองต้องการ จะออกมาเป็นรูปแบบของงานคอสตูมประดิษฐ์ อย่างที่ทำให้นึกถึงชุดในแนว Gothic Lolita หรือใช้ทักษะที่เรียนมาด้วยการสร้างแพทเทิร์น แล้วนำเสนอ Silhouette ใหม่ๆก็สามารถทำได้ทั้งนั้น เพียงแต่ผลงานที่นำเสนอ จะสามารถทำเม็ดเงินกลับมาหมุนเวียนต่อยอดให้กับคอลเล็กชั่นต่อไปได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองที่จะสามารถนำเสนอให้ดาร์คแฟชั่นในแบบฉบับของตัวเอง กลายเป็นที่ต้องตาต้องใจ และมีลูกค้าพร้อมที่จะหยิบไปสวมใส่ในชีวิตประจำวัน นั่นคือความต่างที่อาจทำให้ดีไซเนอร์ที่นำเสนอรูปแบบแฟชั่นในทิศทางนี้มีจำนวนมาก แต่จากทั้งหมดนี้มีเพียงไม่กี่คนที่ประสบความสำเร็จในแนวทางที่ตัวเองเป็น ดังเช่นที่เห็นจากอดีตถึงปัจจุบัน นักออกแบบหลายท่านต้องคอยปรับเปลี่ยนรูปแบบของดาร์กแฟชั่นที่เคยนำเสนอเอาไว้ ให้เท่าทันและสอดรับกับกระแสแฟชั่นอื่นๆของโลกที่ได้เกิดขึ้น ก็เพื่อให้ตรงตามความต้องการของท้องตลาด
สตรีทแฟชั่น #สายดาร์ก ที่มาคู่กับ Fashion Week เมืองใหญ่ๆ
โดยเฉพาะกับในปัจจุบัน แฟชั่นในแบบที่เราเรียกกันเล่นๆติดปากว่า #สายดาร์ก นั้นถูกหลอมรวมเข้ากับความเท่ของ 'Street Fashion' กลายผลงานสวยๆมากมาย, Ann Demeulemeester, Olivier Theyskens และ Rick Owens เป็นตัวอย่างของดีไซเนอร์จากยุค 80s-90s ที่สามารถสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นสุดดาร์คให้ดูน่าสวมใส่ในชีวิตประจำวัน มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อนจะมีแฟชั่นดีไซเนอร์ที่สร้างสรรค์คอลเล็กชั่นในแนวทางเดียวกัน ตามมาในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็น Gareth Pugh หรือ Riccardo Tisci ที่ทั้งคู่สามารถหลอมรวมความดาร์ค และดิบให้เข้ากับกระแส Street Fashion ได้อย่างน่าชื่นชม, แล้วหากถามว่าทิศทางของกระแสแฟชั่นในแนวนี้นั้นมีมากน้อยแค่ไหน? แล้วจะยังอยู่ไปได้อีกนานมั้ย? ... ก็ขอตอบได้เลยว่า กระแสแฟชั่นในทิศทางนี้ ได้กลายเป็นกระแสแฟชั่นหลักอีกหนึ่งกระแสซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก และมีแฟชั่นนิสต้าที่รอเสพมากมาย หลายๆดีไซเนอร์ทั้งจากฝั่งเอเชีย และยุโรป ต่างนำเสนอคอลเล็กชั่นที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีเสื้อผ้าที่อิงกระแสดาร์กแฟชั่นให้เป็นชิ้นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์จากประเทศไทย, ไต้หวัน, สิงคโปร์, เกาหลี และญี่ปุ่น หรือแม้แต่ในยุโรปเอง ดีไซเนอร์คลื่นลูกใหม่ ที่ไม่ใช่ห้องเสื้อรายใหญ่ ต่างก็ก็นำคอลเล็กชั่นในแนวทางของ 'ดาร์กแฟชั่น' เพื่อมาร่วมในงาน Trade Shows ชื่อดังต่างๆเช่นกัน
Tranoi Homme, Paris 2016 ที่ร้อยละ 90% เป็นแฟชั่น #สายดาร์ก
โดยเฉพาะในส่วนของ Menswear ซึ่งแฟชั่นสำหรับ #ผู้ชายสายดาร์ก นั้นเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงทศวรรษนี้ แล้วในครึ่งปีแรกของปี 2016 ส่วนตัวก็มีโอกาสได้ไปชมและสัมผัสผลงานของแฟชั่นดีไซเนอร์จากฮ่องกง ในงานสัปดาห์แฟชั่นของฮ่องกง Hong Kong Fashion Week เดือนมกราคมที่ผ่านมา, ผลงานของดีไซเนอร์ชาวเกาหลีใต้ ในงานสัปดาห์แฟชั่นของกรุงโซล Seoul Fashion Week เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และล่าสุดกับงานสัปดาห์แฟชั่นของปารีส Paris Men's Fashion Week เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รวมทั้งที่ Tranoi Homme International Fair ซึ่งจัดในช่วงเวลาเดียวกัน ในส่วนของ Menswear คอลเล็กชั่นจากแบรนด์ต่างๆทั่วโลกที่มาร่วมในงานนี้ ร้อยละ 90% เป็นผลงานแฟชั่นในทิศทางของ #สายดาร์ก สำหรับหนุ่มๆผู้รักความแตกต่าง และต้องการฉีกรูปแบบการแต่งกายด้วยยูนิฟอร์มแบบเดิมๆแทบทั้งสิ้น โดยแต่ละแบรนด์ต่างนำเสนอแฟชั่นทิศทางนี้ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ทั้งความโรแมนติกของลวดลายและผืนผ้าที่ใช้, การสร้างพื้นผิวสัมผัสด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะตัว รวมทั้ง Silhouette ใหม่ๆ ที่ทำให้ความเหมือนในส่วนของมู้ดโดยรวม ดูแตกต่างกันได้เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของชิ้นงาน แต่น่าเสียดายที่ในส่วนของงาน Tranoi นั้น ในครั้งนี้ทางบล็อกต้องขอนำเฉพาะรูปบางแบรนด์ที่รู้จักมาให้ชมกันครับ ^__^
Olivier Theyskens Spring/Summer 1999
Ann Demeulemeester Spring/Summer 2003
Kurt Ho at Hong Kong Fashion Week, January 2016
D.GNAK at Seoul Fashion Week, March 2016
มาดาม Hwahwa Lala แฟนคลับคนสำคัญของ Rick Owens
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น